วันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2557

คำศัพท์เศรษฐศาสตร์

สินค้าบุญ (merit goods)
หรือ สินค้าคุณธรรม หรือ กุศลทรัพย์ 


คือ สินค้าหรือบริการที่เมื่อบุคคลหนึ่งบุคคลใดบริโภคแล้วทำให้บุคคลอื่นๆ ในสังคมพลอยได้รับผลประโยชน์ไปด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือสินค้าหรือบริการที่มีผลกระทบภายนอกจากการบริโภคที่เป็นบวก หรือเป็นสินค้าที่ให้ประโยชน์ต่อสังคมโดยรวม เช่น การฉีดวัคซีนป้องกันโรค การบริการทางสาธารณสุข การให้การศึกษาและฝึกอบรม การเคหะ เครื่องดับเพลิง ผลงานทางวรรณกรรมและศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น ประเภทนี้เป็นไปตามกลไกตลาดที่คนรวยจะได้เปรียบคนจน
           แนวคิดเกี่ยวกับสินค้าคุณธรรม (merit good) ในทางเศรษฐศาสตร์นำเสนอโดยริชาร์ด มัสเกรฟส์ (Richard Musgrave1957, 1959) คือ สินค้าอุปโภค (commodity) ที่ตัดสินโดยบุคคลหรือสังคม บนพื้นฐานของความต้องการ (need) ที่มากกว่าความสามารถและความเต็มใจที่จะจ่ายชำระ (ability and willingness to pay)

           ตลาดสินค้าคุณธรรม (merit good) เป็นตัวอย่างของตลาดที่ไม่สมบูรณ์ (incomplete market) สินค้าคุณธรรมมีลักษณะพื้นฐานสองประการ 
- ประการแรก เป็นเหมือนสินค้าส่วนตัว ผลประโยชน์ส่วนตัวสุทธิของผู้บริโภค ที่ไม่ได้คิดคำนึง (recognised) ในขณะที่บริโภค
- ประการที่สอง เมื่อมีการบริโภคสินค้าคุณธรรม จะเกิดผลประโยชน์ให้แก่บุคคลอื่น จากประโยชน์ที่สังคมได้รับนี้ เป็นการบริโภคที่ไม่ได้คิดคำนึงหรือไม่เป็นที่ยอมรับ


สินค้าบาป  (demerit goods)
หรือ อกุศลทรัพย์
คือ สินค้าที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคและคนอื่น และถือว่าทำให้สังคมต้องสูญเสียต้นทุนทางสังคมด้วย สินค้าบาปสามารถเป็นอันตรายต่อร่างกาย (เหล้า บุหรี่ อาวุธ) อันตรายต่อจิตใจ (บ่อนการพนัน) หรืออันตรายต่อศีลธรรม (ซ่องโสเภณี)  ในหลายกรณีสินค้าบาปอาจมีการเก็บภาษีเพิ่มเติมเพื่อที่จะลดการบริโภค ซึ่งภาษีเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันว่า เป็น ภาษีบาป” (sin taxes) 


ภาษีบาป (SIN TAX) อาทิเช่น สุรา ยาสูบ สถานประกอบการด้านบันเทิง เครื่องดื่มชูกำลัง รวมถึงชา กาแฟ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยในเบื้องต้นจะเก็บภาษีชาและกาแฟ ที่บรรจุอยู่ในกล่องและกระป๋อง


นางสาว พรชนิตว์ พินทุสุนทร ม.5 ห้อง 942 เลขที่ 23

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น